Wednesday, April 27, 2011

น้ำใจ...สร้างมิตรภาพที่ยั่งยืน


มิตรภาพ.....ที่หาซื้อ...ไม่ได้

การที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ได้ชื่อว่าเป็นคนดี 
คิดว่ามันเป็นงานของเขา  เป็นหน้าที่ของเขา    ที่เขาจะต้องทำ  ไม่ใช่หน้าที่ของเรา  ไม่ใช่งานของเรา    ก็ถูกต้องแล้ว 
          ในพระพุทธศาสนา  มีหลักใหญ่ที่เป็นพื้นฐานที่ควรยึดถือปฏิบัติอยู่  ๓  ข้อ  คือ
        ทาน  คือ  การให้
        ศีล  คือ  การไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
        ภาวนา  คือ  การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้น
การยึดถือการปฏิบัติ  คือ  ศีล  การไม่ทำให้คนอื่น
เดือดร้อน  แต่เพียงอย่างเดียว  ถือว่าเป็นการทำความดีที่ยังไม่ครบถ้วน  หรือยังเป็นคนดีที่ยังไม่สมบูรณ์
          เราสามารถปฏิบัติตนเป็นคนดีตามหลักธรรมได้ไม่ยาก  คือ   ศีล  นอกจากจะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแล้ว    ก็ควรจะรักษาความเมตตา  มีน้ำใจพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องรอให้เขาร้องขอ คือ  ทาน  การให้  ก็จะทำให้มี  ภาวนา  คือ  การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม        ให้เกิดขึ้น
หากเราสามารถปฏิบัติได้  เราก็จะกลายเป็นที่รักของคนรอบข้าง  เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงินทอง  แต่มันให้ผลตอบแทนที่แสนจะคุ้มค่า
การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง    มีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติสุข
 ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้แล้ว
จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า
เขาเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายของเรา

เขาเป็นเพื่อนเวียนว่ายอยู่ในวัฏฎสงสารเช่นเดียวกันกะเรา
เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเรา  ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง
ท่านพุทธทาสภิกขุ
การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจ นอกจากจะทำให้เรามีจิตใจที่ดีงามเบิกบานแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใส ใบหน้าอิ่มเอิบแล้ว     ยังทำให้ได้มิตรสหายมากมาย ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย  เพราะความมีน้ำใจแสดงถึงความมีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์     แล้วชีวิตของท่านจะพบแต่ความสุข  พานพบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต มีมิตรภาพที่ยั่งยืน 

การที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ได้ชื่อว่าเป็น คนดี
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุข  ของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
 ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา           ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงาม        ให้เกิดขึ้นในชุมชน
โดย....ลุงเพิ่ม
.

0 comments:

Post a Comment