Tuesday, December 25, 2012

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร

ที่มา หนังสือรู้รักตระหนักใช้วัฒนธรรมไทย ตามโครงการ “เมืองคนดีวิถีธรรม”
1. พิธีกรคือใคร
พิธีกร คือ ผู้เตรียมการทุกขั้นตอน ประสานกับทุกฝ่ายและกำกับพิธีการให้เป็นไปตาม
ขั้นตอนที่ได้เตรียมไว้ก่อนแล้ว โดยการพูดบ้างเล็กน้อยหรือไม่ต้องพูดเลย
พิธีกร หมายถึง บุคคลที่รับผิดชอบด้านพิธีการ มีหน้าที่ดำเนินรายการให้เป็นไปตามขั้นตอน
ที่เตรียมไว้แล้ว
2. พิธีกรมีหน้าที่หรือบทบาทอย่างไร
1). เป็นผู้นำด้านพิธีการ
2). เป็นผู้ควบคุมหรือกำกับรายการภาคพิธีการตามกำหนดการ
3). เป็นผู้ทำหน้าที่ตามกำหนดการเท่านั้นไม่ทำนอกรายการ
4). เป็นผู้สร้างบรรยากาศให้เป็นพิธีการ และควบคุมบรรยากาศภาคพิธีการ
5). เป็นผู้พูดคนแรกและคนสุดท้ายในพิธีการ
6). เป็นผู้ถูกมองว่า มีความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับพิธีการนั้นๆ


2. พิธีกรต้องเตรียมการอย่างไร
พิธีกร ต้องศึกษางานให้เข้าใจ ต้องเตรียมการและ
ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. พิธีกรกับเจ้าของงานมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
พิธีกร ต้องทำหน้าที่แทนเจ้าภาพ อย่าทำตัวเป็นแขกผู้มี
เกียรติหรือผู้ร่วมงาน กล่าวคือ ต้องรู้ทุกอย่าง และตอบ
คำถามแทนเจ้าภาพได้

----------------------------------
1. จรรยาบรรณของพิธีกรเป็นอย่างไร
พิธีกรที่ดีต้อง - ศึกษางานให้ชัด
- เตรียมงานให้ดี
- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างถ้วนทั่ว จึงจะเกิดความมั่นใจใน
การปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งควรมีจรรยาบรรณดังนี้
อย่าริอ่านเป็นโฆษกใหญ่ อย่าเข้าหาไมค์เวลาเมา
อย่ามัวเล่าเรื่องตัวเอง อย่าอวดเก่งพูดยาวนาน
ต้องเตรียมการทุกขั้นตอน พึงสังวรจัดรายการ
จงพูด อ่าน เขียน ให้ถูก ปลูกไมตรีสร้างทีมงาน
ดำรงความสง่า มั่นศึกษาหมั่นปรับปรุง

3. โฆษก คือใคร
โฆษก คือ ผู้พูด ผู้ประกาศ หรือผู้โฆษณา ผู้แถลง เช่น
โฆษกพรรคการเมือง โฆษกรัฐบาล โดยมีผู้เตรียมข้อมูลให้
อ่าน แถลง หรือการเชิญชวนทำความเข้าใจก่อนถึงพิธีการ
4. พิธีกร กับโฆษกมีบทบาทแตกต่างกันอย่างไร
พิธีกร คือ ผู้เตรียมการทุกขั้นตอน ประสานกับทุกฝ่ายและ
กำกับพิธีการให้เป็นไปตาม
ขั้นตอนที่ได้เตรียมไว้ก่อนแล้ว โดยพูดบ้างเล็กน้อย
หรือไม่ต้องพูดเลย
โฆษก คือ ผู้พูด ผู้แถลง ผู้โฆษณา

-------------------
1. ทักษะการใช้ภาษามีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ภาษาที่ใช้ของพิธีกรมี 5 ระดับ คือ
1). ระดับกันเอง ใช้ในวงสนทนา ผู้ใกล้ชิดมาก ๆ
2). ระดับสนทนา ใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็กๆ เช่น การปรึกษาหารือ เป็นต้น
3). ระดับกึ่งทางการ ใช้ในการประชุมกลุ่มอภิปราย กลุ่มบรรยายในห้องเรียนการแสดง
ความคิดเห็นเชิงวิชาการ
4). ระดับทางการ ใช้ในการบรรยาย อภิปราย การเสนอข่าวต่อสาธารณชนอย่างเป็น
ทางการ การใช้ภาษาของพิธีการทั่วไปจะอยู่ในระดับนี้
5). ระดับพิธีกร ใช้ในที่ประชุมจัดขึ้นอย่างเป็นพิธี เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าว
ปราศรัยของบุคคลสำคัญ
2. ตัวอย่างภาษาที่ใช้ต่างระดับในการพูดของพิธีกร
ระดับ 1 – 3 ระดับ 4 – 5
งานแต่งงาน งานมงคลสมรส
ถึงเวลาแล้ว ได้เวลาอันสมควรแล้ว
ประธานมาถึงแล้ว ประธานในพิธีได้เดินทางมาถึงบริเวณงานล้ว
พระสงฆ์องค์เจ้า พระสงฆ์
เผาศพ ฌาปนกิจศพ

------------------------------------
5. การกล่าวทักทายในที่ประชุมหรือที่ชุมชนต่างๆ เป็นหน้าที่ของ
พิธีกรหรือไม่ การทักทายในที่
ประชุม ควรเป็นการทักทายโดยทั่วไป เช่น ท่านผู้มีเกียรติที่
เคารพไม่ควรกล่าวเจาะจงเป็น
ตำแหน่ง ซึ่งการทักทายแบบนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่ไปพูด ไม่ใช่
หน้าที่ของพิธีกร
6. มีบทบาทในการให้ความรู้แก่ผู้ฟังหรือผู้ร่วมงานพิธีหรือไม่
พิธีกร ไม่มีบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ แต่เป็นผู้คอยเชื่อมโยง
กิจกรรมหนึ่งไปสู่กิจกรรมหนึ่ง
สำหรับผู้ที่ให้ความรู้เรียกว่า “วิทยากร” หรือ “พระนักเทศน์”
หรือบุคคลอื่นที่ถูกเชิญมิใช่พิธีกร

----------------------------------
1. พิธีการจะต้องแนะนำตัวเองก่อนปฏิบัติหน้าที่หรือไม่
ไม่ควร เพราะงานพิธีกรเป็นงานที่ส่งเสริมให้คนอื่นเด่น มิใช่ตัวเองเด่น แต่ถ้าเป็นคนเชิญเรา
ออก
ชื่อให้ปฏิบัติหน้าที่พิธีกร ก็ดูดีขึ้นกว่าการที่จะแนะนำตัวเอง
2. ถ้าได้รับเชิญให้เป็นประธาน หรือเป็นวิทยากร การจะต้องทักทายในที่ประชุมมีหลักการ
ทักทาย อย่างไร
ควรทักทายไม่เกิน 3 – 4 ชื่อ หรือ 3 – 4 ตำแหน่ง เรียงตามลำดับอาวุโส แล้วตามด้วยคำ
ว่า “และท่านผู้มีเกียรติ”
เวลาทักผู้ใด ควรหันหน้าไปทางผู้นั้น จนกระทั่งสบตาหรือมองไปที่ใบหน้าของผู้ถูกทัก ไม่
ต้องมีคำว่า “กราบเรียน” “เรียน” “สวัสดี”
3. กรณีมีพระสงฆ์ผู้ใหญ่อยู่ในที่ประชุมด้วย จะแยกการทักทายอย่างไร
ควรเริ่มด้วยคำว่า “มนัสการ” ตามด้วยสมณศักดิ์ของท่าน และก่อนจะทักคฤหัสถ์ ซึ่งเป็น
ผู้ใหญ่ อยู่ในที่นั้น จะใช้คำว่า “กราบเรียน” คั่นกลาง เพื่อให้เห็นความแตกต่าง
4. ถ้ามีพระสงฆ์ผู้ใหญ่หลายรูปจะทักทายอย่างไร

----------------------------------------------------------
ทักพระสงฆ์ที่เป็นประธานก่อนแล้วตามด้วยคำว่า “พระเถรานุเถระ”
5. หลักการกล่าวขอบคุณที่ดี ควรทำอย่างไร
1). พิธีกรควรหันไปทางที่ผู้รับกล่าวขอบคุณ
2). กล่าวทักผู้รับการขอบคุณ
3). ถ้อยคำที่ใช้ให้รู้สึกว่ากล่าวกับผู้รับการขอบคุณเท่านั้น
4). กล่าวถึงความประทับใจจากการฟัง การร่วมกิจกรรม
5). ลงท้ายด้วยข้อความว่า “ในนาม.....................”
6). ลงท้ายด้วยข้อความที่มีพลัง เช่น คำคม กลอน หรือถ้อยคำที่
พูดแล้วรู้สึกประทับใจกว่า
ธรรมดาเพื่อเรียกร้องให้ผู้ฟังปรบมือโดยอัตโนมัติ

------------------------------------------
1. การเชิญประธานขึ้นประกอบพิธี พิธีกรกล่าวนำก่อนเชิญอย่างไร
ถ้าเป็นพิธีการทั่วไป เช่น เปิดประชุมสัมมนาใช้ว่า “บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว”
ถ้าเป็นพิธีการที่ให้ฤกษ์ เช่น เปิดป้าย (วางศิลาฤกษ์ ใช้ว่า “บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์
แล้ว)
2. การเชิญประธานขึ้นประกอบพิธีมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
วิธีปฏิบัติ 3 ประการ
1). พิธีการสำคัญมาก ไม่ประกาศเชิญทางเครื่องขยายเสียง แต่มีการเตรียมการ
อย่างดี ซักซ้อมกันอย่างดี
2). ใช้วิธีบรรยาย เช่น พูดว่า บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ท่านประธานในพิธีจะได้
ประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัย
3). ใช้วิธีเชิญทางไมโครโฟน ซึ่งเป็นวิธีใช้อยู่ทั่วไป ใช้ในงานทั่วๆ ไป
3. อยากทราบวิธีการใช้คำว่า “พระคุณท่าน” “พระคุณเจ้า” และ “พระเดชพระคุณ”
“พระคุณท่าน” ใช้กับพระสงฆ์ทั่วไป
“พระคุณเจ้า” ใช้กับพระสงฆ์สูงขึ้นไปอีก
“พระเดชพระคุณ” ใช้กับพระสงฆ์ระดับรองสมเด็จหรือสมเด็จขึ้นไป
(ความนิยมในการพูด)
4. การเรียกพระสงฆ์รูปไหนเรียก “พระ” รูปไหนเรียก “พระอธิการ” รูปไหนเรียก “เจ้า
อธิการ”

-------------------------------------------------------
7. การอาราธนาศีลพิธีกรบางคนยืน บางคนนั่ง มีวิธีถูกต้องอย่างไร
- ถ้าพระนั่งบนอาสน์สงฆ์ ผู้ร่วมพิธีนั่งเก้าอี้ พิธีกรยืนท้าย
อาสน์สงฆ์ตรงพระรูปที่ 3 นับจากท้ายสุด
- ถ้าพระนั่งระดับพื้น ผู้ร่วมพิธีนั่งระดับพื้น พิธีกรควรนั่งคุกเข่า
หน้าประธานสงฆ์ ประนมมือ
กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงกล่าวอาราธนาศีล
- ถ้าพระนั่งบนอาสน์สงฆ์ แต่ผู้เข้าร่วมพิธีนั่งพื้น พิธีกรควร
นั่งคุกเข่าอาราธนาศีล เช่นกัน

----------------------------------------------------
1. คำว่า “สวดมนต์” “เจริญพระพุทธมนต์” “สวดพระพุทธมนต์” ใช้ต่างกันอย่างไร
สวดมนต์ ใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นักเรียนสวดมนต์ นายขาวสวดมนต์ก่อนนอน
เจริญพระพุทธมนต์ ใช้ในพิธีการทั่วไปที่เป็นงานมงคลต่าง ๆ
สวดพระพุทธมนต์ ใช้กับพิธีอวมงคล
2. คำว่า “พระอุโบสถ” กับ “อุโบสถ” หรือ “โบสถ์” ใช้ต่างกันอย่างไร
พระอุโบสถให้ใช้กับวัดที่เป็นพระอารามหลวง ส่วนวัดราษฎร์ให้เรียกว่าอุโบสถหรือโบสถ์
3. คำว่า “หมายกำหนดการ” กับ “กำหนดการ” ใช้ต่างกันอย่างไร
หมายกำหนดการ ใช้กับงานที่สำนักพระราชวังเป็นผู้กำหนดขึ้น มีผู้บรรยายพระบรมราช
โองการ (พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์รับสั่งและมีผู้สนองพระบรมราชโองการ)
กำหนดการใช้กับหนังสือทั่วไป ที่สำนักพระราชวังมิได้เป็นผู้กำหนด
4. คำว่า “แขกผู้มีเกียรติ” กับ “ท่านผู้มีเกียรติ” ใช้ต่างกันอย่างไร
ควรใช้ค่าว่า “ท่านผู้มีเกียรติ” เพราะเป็นคำที่ใช้กับผู้อยู่ในที่นั้น หรือกลุ่มเดียวกัน แต่ไม่
ควรใช้คำว่า “แขกผู้มีเกียรติ”
5. เวลา 09.30 น. พิธีกรควรอ่านว่าอย่างไร
ควรอ่านว่า “เวลาเก้านาฬิกา สามสิบนาที” ไม่ควรอ่านว่า “เวลาเก้าจุดสามศูนย์นอ”
6. สิ่งของที่จะวายพระสงฆ์ในพิธีการทำบุญ จะเรียกว่า “ไทยทาน” หรือ “ไทยธรรม”
ต้องใช้คำว่า “ไทยธรรม” ซึ่งแปลว่า ของที่ถวายพระ ส่วน “ไทยทาน” นั้น คือทานที่
ให้แก่คนทั่วไป

--------------------------------------------------------

Monday, December 24, 2012

คำว่า "คน" กับ "มนุษย์"

 
 คำว่า "คน" กับ "มนุษย์" ว่ากันตามลักษณะแล้ว อาจมองเห็นได้ชัด
ว่า มีลักษณะภายนอกคือร่างกายไม่แตกต่างกันเลยและเหมือนกัน
เป็นที่สุด หาแยกกันได้ไม่ แต่เมื่อว่ากันโดยคุณลักษณะภายใน คือ
คุณธรรมแล้วไซร้ คงพอจะจำแนกแยกแยะได้โดยมิต้องสงสัยเลย
แต่เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับสัตว์ทั่วไป แน่นอน! ว่า สัตว์ที่เราเรียก
กันว่า "คน" หรือ "มนุษย์" นี้ ย่อมประเสริฐเป็นที่สุด ด้วยอาศัย
ปัญญา ความคิด กอปรทั้งคุณธรรมเป็นเหตุบ่งชี้
แต่เมื่อเอา "คน" กับ "มนุษย์" มาเปรียบเทียบกันก็คงแตกต่างและ
เหมือนกันด้วยเหตุดังว่ามาแล้วนี้ ส่วนใครคนใดจะมีความเป็นคน


ในทางกลับกัน ใครคนใดที่มีคุณธรรมในตัวมาก
อาจจะบ่งให้รู้ว่า คนๆ นั้นมีความเป็นมนุษย์ในตัว
มาก มีความเป็นคนน้อย ยิ่งมีคุณธรรมมากเท่าใด
ความเป็นมนุษย์ของเขาก็ยิ่งมีมากเท่านั้น ความเป็น
คนของเขาก็มีน้อยลง อาจจะเรียกได้ว่า "นี่แหละที่เขา
เรียกว่า "มนุษย์"
แต่ว่าโดยสรุปแล้ว คนเราก็มีทั้งดีทั้งชั่วด้วยกันทั้งนั้น
ในความเป็นคนก็มีความมนุษย์เจือปนอยู่ แม้ในความ
มนุษย์ก็ยังมีความเป็นคนปะปนอยู่ คนที่ดีนักดีหนา
เขาก็ยังมีข้อที่ควรติติง, แม้ในคนที่ว่าเลวนักเลวหนา
เขาก็ยังมีคุณธรรมให้ต้องสำนึก อย่างที่เขาว่าแหละ
สัจจะ(ความจริงใจ)ก็ยังมีในหมู่โจร ด้วยเหตุนี้แหละ
คนเราใช่ว่าจะดีไปหมด หรือเลวและชั่วร้ายไปเสียทุก
อย่าง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ" ใน
บรรดามนุษย์ คนได้รับการฝึกฝนพัฒนา(กาย วาจา
ใจ) แล้ว นั่นแหละ เป็นผู้ที่ชื่อว่า "ประเสริฐที่สุด"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ" ใน
บรรดามนุษย์ คนได้รับการฝึกฝนพัฒนา(กาย วาจา ใจ)
แล้ว นั่นแหละ เป็นผู้ที่ชื่อว่า "ประเสริฐที่สุด"
โดยชาติกำเนิดแล้ว คนหรือมนุษย์เราถือว่าเป็น
ประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานยิ่งนัก แต่จะให้ประเสริฐ
โดยแท้จริง ก็ต้องอาศัยคุณธรรมคือการฝึกฝนพัฒนา
กาย วาจา ใจของตนให้ดีขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะ
นับว่าประเสริฐขึ้น ๆ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน เอย
โดย…บังเร
37