เทคนิคการอ่านหนังสือ และสื่อประเภทต่างๆ
1. เทคนิคการอ่านสารคดี ซึ่งแบ่งออกเป็น
- ?หนังสืออ้างอิง ทุก ประเภทซึ่งมีความแตกต่างกันการรู้จักใช้ส่วนต่างๆ ของหนังสือและเครื่องมือที่ช่วยในการค้นคว้าได้รวดเร็ว เพราะการค้นคว้าหนังสืออ้างอิงไม่จำเป็นจะต้องอ่านทั้งเล่ม ค้นคว้าเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งที่ต้องการเท่านั้น การใช้ส่วนต่างๆ ของหนังสือ เช่น? หน้าปก หน้าปกใน คำนำ คำอธิบายวิธีใช้? สารบัญ ดัชนี? ดัชนีริมกระดาษ??? อภิธานศัพท์ ฯลฯ
นอกจากนั้น การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการค้นคว้าได้รวดเร็ว เช่น คำนำทางที่หนังสือ (สำหรับหนังสือเป็นชุด) คำนำทางที่อยู่ตอนบนของหน้ากระดาษทุกๆหน้า (ส่วนใหญ่จะมีในหนังสือพจนานุกรมและสารานุกรม) และส่วนโยงที่มีอยู่ทั้งใน เนื้อเรื่อง และดัชนี เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการค้นคว้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- ?หนังสือสารคดีทั่วๆ ไป เทคนิคในการค้นคว้าให้รวดเร็ว เช่นเดียวกับเทคนิคการค้นคว้าหนังสืออ้างอิงแต่ส่วนที่สำคัญที่ผู้อ่านควร รู้จักอ่านให้เกิดประโยชน์และรวดเร็ว นั่นคือการอ่านบทสรุปของหนังสือสารคดีทุกเล่มเพื่อเลือกอ่านเล่มที่ตรงกับ ความต้องการมากที่สุดทำให้ไม่เสียเวลาอ่านเนื้อเรื่องจนจบทั้งเล่ม
2. เทคนิคการอ่านหนังสือนวนิยาย และเรื่องสั้น
- การอ่านนวนิยาย จะต้องอ่านเพื่อหาแกนหรือแก่น (Theme) ของเรื่อง ข้อคิดเห็นหรือปรัชญาของผู้เขียนที่แฝงไว้ตลอดจนความเหมาะสมของโครงเรื่อง (Plot) ตัวละคร ฉาก บทสนทนาฯลฯ
- ?การอ่านเรื่องสั้น จะ ต้องพิจารณา เทคนิคการเขียนในการเริ่มต้นเรื่องน่าสนใจเพียงไร การดำเนินเรื่องและจุดจบที่หักมุมได้อย่างสวยงาม เป็นการคลี่คลายปมที่ทำให้?ผู้อ่านเกิดอารมณ์และความประทับใจ
3. เทคนิคการอ่านวารสารหรือนิตยสารและหนังสือพิมพ์
- เทคนิคการอ่านวารสารหรือนิตยสารทางวิชาการ ควรรู้จักการค้นคว้าโดยใช้ดัชนีวารสารช่วยค้น และการใช้สารบัญ บทคัดย่อ หรือบทสรุป ช่วยในการอ่านให้รวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาอ่านจนจบนอกจากสนใจเรื่องใดจึง อ่านอย่างมีวิจารณญาณ
- เทคนิคการอ่านวารสารบันเทิง การ รู้จักใช้สารบัญและการเลือกอ่านบทความที่มีสาระไม่เป็นพิษเป็นภัย จะช่วยทำให้ผู้อ่านมีความรอบรู้ และได้รับความบันเทิงไปด้วย ทำให้คลายเครียดและคลายเหงาได้เป็นอย่างดี
- เทคนิคการอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์มีทั้งหนังสือพิมพ์รายวัน? ราย 3 วัน? รายสัปดาห์ ฯลฯ การอ่านหนังสือพิมพ์ควรอ่านข่าวพาดหัว และเลือกอ่านข่าวที่น่าสนใจ จะช่วยทำให้ผู้ที่มีเวลาน้อยจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้หลายๆฉบับ และเลือกอ่านฉบับที่เสนอข่าวรวดเร็วเที่ยงตรงไม่มีอคติ เป็นต้น
4. เทคนิคการอ่านสื่อโฆษณา ฉลากยา ฉลากโภชนาการ ฉลากของเล่นและเกมต่างๆ ฯลฯ
- การอ่านสื่อโฆษณา ต้องพิจารณาเงื่อนไข และกติกา? หาเหตุผลและความน่าเชื่อถือ ความน่าจะเป็นไปได้? เพราะอาจถูกหลอกลวงได้ง่าย ต้องสอบถามจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการเปรียบเทียบรายละเอียดต่างๆ จากข้อมูลที่ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้า และผู้จัดจำหน่ายที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
- การอ่านฉลากยาและฉลากโภชนาการมี ความสำคัญที่จะต้องอ่านก่อนซื้อโดยต้องอ่านวันเดือนปีที่หมดอายุ? วิธีใช้และการเก็บรักษาบริษัทผู้ผลิต/อายุผู้ใช้ รายละเอียดของปริมาณของสารในการผลิต และต้องผ่าน อย. โดยอ่าน เครื่องหมาย อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
- การอ่านฉลากของเล่นและเกมต่างๆ สำหรับ ของเล่นและเกมต่างๆ ก็เช่นเดียวกันถ้าเป็นของเล่นจากต่างประเทศจะต้องอ่านดูว่ามีคำว่า “Non-toxic” หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการใช้สีและวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยกับเด็กและสำหรับของเล่นที่ ผลิตในประเทศไทยจะต้องได้รับการรับรองจากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งจะบอกขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการเล่นและอายุผู้เล่น เป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องพิจารณา ฉลากเขียว? (Green? Label)? ว่ามีหรือไม่ เพราะฉลากเขียวเป็นฉลากที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่ผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
- การอ่านสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องอ่านคำอธิบายวิธีใช้ บริการหลังการขายที่สำคัญมาก อายุของการประกัน คุณภาพ ราคาของการดูแลรักษา (ซึ่งแต่ละประเภท ราคา จะไม่เท่ากัน) ต้องเปรียบเทียบราคากับเครื่องอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ต้องศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ ต้องศึกษาแนวโน้มของการผลิตรุ่นใหม่ๆ ที่มีเครื่องหรือชิ้นส่วนที่ใช้ด้วยกันได้หรือไม่ตลอดจนสามารถพัฒนาหรือปรับ ปรุงได้ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ง่าย
?ต้องอ่านและพิจารณา ความสามารถของสื่อที่เหมาะสมกับการใช้งานและหน่วยความจำตลอดจนราคาที่เหมาะ สมกับคุณภาพ อ่านดูบริษัทผู้ผลิต พิจารณาความชำนาญและชื่อเสียงในการผลิตพิจารณาราคาในการติดตั้งและราคา เครื่องคอมพิวเตอร์ (ซึ่งไม่แพงและหาอาหลั่ยง่าย) และค่าสมาชิกซึ่งไม่แพงจนเกินไป เป็นต้น
======================
ผู้เขียน : รศ.ฉวีวรรณ? คูหาภินันทน์ อาจารย์ พิเศษโปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์? สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต? บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ที่มา : คัดลอกมาจากวารสารสารสนเทศ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1? มกราคม – มิถุนายน 2546
ที่มา : คัดลอกมาจากวารสารสารสนเทศ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1? มกราคม – มิถุนายน 2546
0 comments:
Post a Comment