> ลัดดาแลนด์ นั้น สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริง!! ที่ในอดีตเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองเชียงใหม่
> แต่ตอนนี้เป็นแหล่งลองของชื่อดังไปซะแล้ว -*- ... และตอนนี้ ลัดดาแลนด์ ก็ก้าวหน้าขนาดมีคนจับมา
> ทำเป็นหนังสยองขวัญเรียบร้อยครับ ^ ^" เรียกได้ว่าชื่อเสียงความเฮี้ยนนั้น ดังกระฉ่อนมากๆทีเดียว (
> แต่คนที่อยู่เชียงใหม่ก็มีหลายกระแสนะครับ บางกระแสก็ว่าไม่เห็นจะมีอะไร ตอนนี้เป็นแหล่งซ่องสุมของ
> วัยรุ่นเกเรด้วยซ้ำ)
>
> ... และตำนานของลัดดาแลนด์นั้น คร่าวๆก็ ...
> ตอนแรกที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นสวนดอกไม้ มีโน่นมีนี่ ให้คนแวะเข้าไปชมไปเที่ยว แล้วก็มีโซ
> นหมู่บ้านประมาณว่าบ้านจัดสรรของเศรษฐีน่ะครับ ... วันหนึ่ง ก็มีครอบครัวหนึ่งโดนฆ่าตายยกครัว ...
> จากนั้นก็มีคนเห็นวิญญาณของคนในบ้านนี้ออกมาปรากฎตัวให้เห็นบ่อยๆ เช่นออกมารถน้ำต้นไม้ ส่งเสียง
> หัวเราะคิกคักหลอนๆ ประหนึ่งว่ายังไม่รู้ว่าตนเองตายแล้ว สร้างความสยองให้คนในหมู่บ้าน จนต้องทิ้ง
> บ้านแพงๆ เพราะทนความเฮี้ยนไม่ไหว ... กลายเป็นว่าร้างไปทั้งหมู่บ้าน ยิ่งตอกย้ำความสยองไปกัน
> ใหญ่
> ทว่า ... ยังมีบ้านที่ไม่รู้เหมือนกัน เพราะเจ้าของบ้านเป็นฝรั่ง ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ก็เลยจ้างสาวชาว
> พม่ามาเฝ้าให้ ... ด้วยความร้างของที่นั่น ย่อมเป็นที่ให้โจรร้ายมากอบโกย สาวชาวพม่าก็โดนฆ่าตาย
> ไปอีก กลายเป็นอีกหนึ่งวิญญาณร่วมวงไพบูลย์สร้างความเฮี้ยนไปอีกหนึ่ง -*- ... นอกจากนี้ก็มีเรื่องต้น
> ไทร ผูกคอตาย อีกมากมาย -*-
>
>
>
>
> หากใคร เคยเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ หรืิอ เป็นชาวเชียงใหม่ ที่เคยผ่านเส้นทาง
> "คลองชลประทาน" ทางฝั่งศูนย์ราชการจังหวัด และสนามกีฬาสมโภช 700 ปี คงจะผ่านตากับที่ดินรก
> ร้างข้างทางปกคลุมด้วยไม้หญ้า ท่ามกลางบรรยากาศรก ๆ น่ากลัว ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 4 ของถนนสาย
> ห้วยแก้ว อยู่ห่างจากสี่แยกห้วยแก้วซึ่งจะสามารถไปมหาวิยาลัยเชียงใหม่ราว 2 กิโลเมตร
> ...ที่มีชื่อว่า...
> "ลัดดาแลนด์"
>
>
>
> จะพบว่าที่รกร้างนั้น คือสถานที่ "เฮี้ยน" ...อาถรรพ์ที่สุดล่อหลอกวัยรุ่นจำนวนมาก มาลองความกล้า
> เพื่อท้าพิสูจน์ผีกันมากที่สุดใน
> จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคำพูดเปรียบเปรยกันในหมู่เด็ก ๆ หรือวัยรุ่นที่มีความกล้าแล้วบ้าบิ่นว่า "หากใคร
> ที่ชอบเรื่องผี ไม่มาลัดดาแลนด์
> ก็แสดงว่ามาไม่ถึงเชียงใหม่ !?"
> ลัดดาแลนด์ จึงเป็น "ความทรงจำอันงดงาม" ของชาวเชียงใหม่ในยุค 2520 ด้วยโครงการจัด
> สรรอันยิ่งใหญ่ของผู้หญิงท่านหนึ่ง อ้างกันว่าคือ "คุณนายลัดดา" นักธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสามี
> ของท่านคือนายทหารผู้เป็นเจ้าของกิจการ "โรงหนังเวียงพิงค์"
> ด้วยการเล็งเห็นศักยภาพของที่ดินรกร้างผืนใหญ่อยู่ใกล้ "ทางขึ้นดอยสุเทพ" พื้นที่ผืนนี้จึงถูกพัฒนาให้เป็น
> "อุทยานการท่องเที่ยวขนาดใหญ่" ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งในยุดนั้นยังไม่มีสถานที่ใดโดดเด่นเท่า
>
>
> แล้วโครงการขนาดใหญ่ที่ครองใจผู้คนในยุคนั้นก็เกิดขึ้น ด้วยการจัดศูนย์แสดงสาธิต
> ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งพิพิธภัณฑ์ชาวเขา
> การทำเครื่องเขิน การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม การแสดงฟ้อนรำต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของคณะ
> วัดเจ้าพ่อเม็งราย อันโด่งดัง
> รวมไปถึงมัดใจเด็ก ๆ และครอบครัว ด้วยการให้บริการ ช้าง ม้า และรถไฟเล็กให้นั่ง ด้วยค่า
> บริการปนะมาณ 8 หรือ 10 บาท
> "น้ำมะเกี๋ยง" (น้ำลูกหว้า) เป็นที่แรกและเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ รวมทั้งมีการเปิดเพลงของ
> คณะ ดิอิมพอสลิเบิ้ล
> ซึ่งโด่งดังในขณะนั้นเกือบตลอดทั้งวัน
>
> สิ้งที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาและโดดเด่นที่สุดของสถานที่แห่งนี้ ได้แก่ สวนดอกไม่เมืองหนาวพันธุ์ต่าง
> ประเทศ และ "รังกล้วยไม้"
> (สวนกล้วยไม้) ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ตระการตาด้วยพันธุ์พื้นเมืองและต่างประเทศกว่าร้อยชนิด ทำให้
> สถานที่แห้งนี้มีผู้มาเที่ยว
> ชมกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยมีบ้านขนาดใหญ่ของคุณนายลัดดา ซึ่งปลูกอยู่ใกล้ ๆ
> ประตูทางเข้าลัดดาแลนด์
> เป็นเสมือนสิ่งบ่งชี้กำไรจากผลประกอบการ
>
>
> ทว่าไม่มีสิ่งใดยั่งยืนหรือคงอยู่ตลอดกาล "เมื่อบ้านเมืองต้องพัฒนา" ความเจริญของวิถีชีวิต
> และการเข้ามาของศูนย์การค้าในท้องถิ่น ส่งผลให้สถานที่แห่งนี้ เป็นเพียง "ที่เก่า ๆ " ซึ่งไม่มีความ
> หมายสำหรีบผู้คนอีกต่อไป
>
> "ต้นไทรใหญ่" บริเวณทางเข้า ที่หนุ่มสาวยุคนั้น ต่างเชื่อว่าถ้าหากพาคนรักมาบนบานศาลกล่าวจะ
> ทำให้ครองรักกันตลอด
> ชีวิต..ไม่มีความหมายและความสำคัญเท่าสถานที่นัดพบแห่งใหม่ ได้แก่ โรงภาพยนตร์ ลานสเกต และ
> ห้างสรรพสินค้า
> ...ม้า และ ช้าง ซึ่งหลายครอบครัวเคยนั่ง เคยขี่ ถูกทยอยขายออกไป ขณะที่คนงานถูกเลิกจ้างไป
> เป็นจำนวนมาก และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
> ไม่มีการดูแลหรือซ่อมบำรุงเพราะขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน ปิดฉากตำนาน "ลัดดาแลนด์" แดน
> แห่งความทรงจำในวันชื่นคืนสุข
>
>
>
> บ้านของคุณนายลัดดาที่ผู้คนต่างชื่นชม ถูกทิ้งร้าง และ ปล่อยให้ผุพังบุบสลายตามกาลเวลา..เพื่อเปิด
> "ตำนานแห่งใหม่แห่งความสยอง" ที่ชาวเชียงใหม่พรั่นพรึง !...
>
>
> ปัจจุบันที่แห่งนี้ยังคงมีผู้มาแวะเวียนเยี่ยมชมอยู่สม่ำเสมอ...เพียงแต่ว่าเป็นการ "พิสูจน์ผี"
> เด็กหนุ่ม และ คนรุ่นใหม่จำนวนมากต่างมาทดสอบความกล้าในสถานที่ร้างแห่งนี้
> บ้านที่หลาย ๆ คนบุกบั่นป่าหญ้า และ "การซ่องสุม-มั่วสุม" ของพวกขี้ยาอันตรายเพื่อพิสูจน์ผี ด้วยหลง
> เข้าใจว่า
>
> เป็นบ้านที่เกิดฆาตรกรรมยกครัว ทำใหครอบครัวที่อยู่ใกล้ ๆ กับบ้านหลังนี้ ได้ยินเสียงร้องไห้ เสียง
> ร้องขอความช่วยเหลือ และ
> เสียงหัวเราะ! แม้กระทั่งพบกับครอบครัวผู้ตายออกมายืนหน้าบ้าน หรือ รดน้ำต้นไม้ ทำให้ตอนเที่ยงคืน
> จนถึงเช้าไม่มีใครที่จะกล้าออกจากบ้านเลย จนนานวันวิญญาณเฮี้ยนก็ได้ตามมาหลอกหลอนถึงบ้าน
>
>
> หรืออีกประเด็นกล่าวว่าเกิดโจรปล้นทั้งหมู่บ้าน จนรกร้างรวมทั้งเรื่องสยอง เมื่อชาวต่างชาติคนหนึ่ง
> ซื้อบ้านหลังหนึ่งในโครงการจัดสรรนี้ไว้ แต่จะเดินทางกลับมาพักในทุกฤดูหนาว จึงว่าจ้างเด้กสาวพม่าคน
> หนึ่งมาดูแลบ้าน
> แต่ก็โชคร้ายเมื่อมีฆาตรกรโรคจิตบุกมาฆ่าและปล้นทรัพย์สิน แล้วหมกศพเก็บไว้ในห้องเก็บของใต้บันได
> กว่าจะมาพบก็ผ่านเกือบ 2 เดือน
> ในช่วงเวลานั้นเพื่อนบ้านก้พบหญิงสาวคนนั้นประจำ แต่เมื่อบ้านข้างเคียงได้กลิ่นเหม็นเ่น่าโชยออกจาก
> บ้าน จึงบอกให้เธอทำความสะอาดเพราะอาจมีหนูตาย แต่แล้วกลับพบว่าไม่มีเด้กสาวอยู่ในบ้านดังที่เห็น
> มากว่า 2 เดือน ด้วยความสงสัยจึงเปิดประตูเข้าไปและพบกับศพของเด็กสาวคนนั้น! จึงส่งผลให้ผู้คนพา
> กันย้ายออกจนรกร้าง
>
>
>
> สำหรับอีกหนึ่งทัศนะ เขาพูดกันว่า หรือ ลือกันไปเอง มีอยู่ว่าในช่วงที่คุณนายลัดดา สั่งพฒนาพื้นที่แห่งนี้
> ได้มีการปรับพื้นดินจนได้พบกับ
> โครงกระดูกของผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก
> ขณะเดียวกัน กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง เคยมีคู่รักคู่หนึ่งมาอธิษฐานขอให้ความรักสมหวังกับต้นไทร ตามความ
> นิยมบนบานศาลกล่าวของผู้คนในยุคนั้น แต่พ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่ยอมรับฝ่ายชาย ทำให้ทั้งสองร่วมกันแขวนคอคู่
> กันที่ใต้ต้นไทร
>
> ความเฮี้ยน ความหลอน ที่ปรากฎเป็นคดีฆาตรกรรมหมกศพ และ วิญญาณอาฆาต จึงกลายเป็นข่าวลือสนุก
> ปาก ของกลุ่มวัยรุ่น ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
> จนทำให้ ลัดดาแลนด์ ซึ่งเคยเป็นความทรงจำของวันชื่นคืนสุข สำหรับผู้คนยุคเก่าก่อน..กลายเป็นเพียง
> ความทรงจำด้านมืดอันน่าสะพรึงกลัว...อย่างไร้เหตุผล
0 comments:
Post a Comment