Monday, December 24, 2012

คำว่า "คน" กับ "มนุษย์"

 
 คำว่า "คน" กับ "มนุษย์" ว่ากันตามลักษณะแล้ว อาจมองเห็นได้ชัด
ว่า มีลักษณะภายนอกคือร่างกายไม่แตกต่างกันเลยและเหมือนกัน
เป็นที่สุด หาแยกกันได้ไม่ แต่เมื่อว่ากันโดยคุณลักษณะภายใน คือ
คุณธรรมแล้วไซร้ คงพอจะจำแนกแยกแยะได้โดยมิต้องสงสัยเลย
แต่เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับสัตว์ทั่วไป แน่นอน! ว่า สัตว์ที่เราเรียก
กันว่า "คน" หรือ "มนุษย์" นี้ ย่อมประเสริฐเป็นที่สุด ด้วยอาศัย
ปัญญา ความคิด กอปรทั้งคุณธรรมเป็นเหตุบ่งชี้
แต่เมื่อเอา "คน" กับ "มนุษย์" มาเปรียบเทียบกันก็คงแตกต่างและ
เหมือนกันด้วยเหตุดังว่ามาแล้วนี้ ส่วนใครคนใดจะมีความเป็นคน


ในทางกลับกัน ใครคนใดที่มีคุณธรรมในตัวมาก
อาจจะบ่งให้รู้ว่า คนๆ นั้นมีความเป็นมนุษย์ในตัว
มาก มีความเป็นคนน้อย ยิ่งมีคุณธรรมมากเท่าใด
ความเป็นมนุษย์ของเขาก็ยิ่งมีมากเท่านั้น ความเป็น
คนของเขาก็มีน้อยลง อาจจะเรียกได้ว่า "นี่แหละที่เขา
เรียกว่า "มนุษย์"
แต่ว่าโดยสรุปแล้ว คนเราก็มีทั้งดีทั้งชั่วด้วยกันทั้งนั้น
ในความเป็นคนก็มีความมนุษย์เจือปนอยู่ แม้ในความ
มนุษย์ก็ยังมีความเป็นคนปะปนอยู่ คนที่ดีนักดีหนา
เขาก็ยังมีข้อที่ควรติติง, แม้ในคนที่ว่าเลวนักเลวหนา
เขาก็ยังมีคุณธรรมให้ต้องสำนึก อย่างที่เขาว่าแหละ
สัจจะ(ความจริงใจ)ก็ยังมีในหมู่โจร ด้วยเหตุนี้แหละ
คนเราใช่ว่าจะดีไปหมด หรือเลวและชั่วร้ายไปเสียทุก
อย่าง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ" ใน
บรรดามนุษย์ คนได้รับการฝึกฝนพัฒนา(กาย วาจา
ใจ) แล้ว นั่นแหละ เป็นผู้ที่ชื่อว่า "ประเสริฐที่สุด"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ" ใน
บรรดามนุษย์ คนได้รับการฝึกฝนพัฒนา(กาย วาจา ใจ)
แล้ว นั่นแหละ เป็นผู้ที่ชื่อว่า "ประเสริฐที่สุด"
โดยชาติกำเนิดแล้ว คนหรือมนุษย์เราถือว่าเป็น
ประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานยิ่งนัก แต่จะให้ประเสริฐ
โดยแท้จริง ก็ต้องอาศัยคุณธรรมคือการฝึกฝนพัฒนา
กาย วาจา ใจของตนให้ดีขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะ
นับว่าประเสริฐขึ้น ๆ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน เอย
โดย…บังเร
37

0 comments:

Post a Comment